ผลิตภัณฑ์ของเรา

ผลิตภัณฑ์ของเรา
ผลิตภัณฑ์ของเรา : กุ้งเนื้อแกะสด , กุ้งแห้งคัดพิเศษ , หอยเชลล์สด , หนังปลาแซลมอนทอด , หนังปลาแซลมอนอบแห้ง,แคบหมูไร้มัน ,แคบหมูกระจก ( เรารับประกัน ได้รับสินค้า 100 % )

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

น้ำพริกกะปิกุ้งแห้ง

 น้ำพริกกะปิกุ้งแห้ง

วิธีทำน้ำพริกกะปิกุ้งแห้งรสชาติอร่อยไว้รับประทานกับผักสด ชะอมชุบไข่ หรือ มะเขือยาวชุบไข่
เครื่องปรุงกะปิ 2 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมกลีบใหญ่ 3 กลีบ
พริกสด  5 เม็ด
น้ำมะนาว 6 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ½ ช้อนชา
น้ำสุก 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ1. เอากุ้งแห้งมาแช่น้ำไว้ประมาณ 5 นาที สะเด็ดน้ำออก พักไว้


2. ปลอกเปลือกกระเทียม เด็ดขั้วพริก นำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเอาไปใส่ในครก


3. ตำพริกกับกระเทียมซักพัก ใส่กุ้งแห้งลงไป โขลกจนเครื่องทุกอย่างละเอียด


4. นำกะปิไปเข้าไมโครเวฟประมาณ 15 วินาที แล้วเอามาโขลกกับเครื่องต่างๆ ให้เข้ากัน


5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลทราย คนให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ


6. ตักน้ำพริกกะปิกุ้งแห้งใส่ถ้วย เทน้ำสุกใส่ในครกเพื่อล้างครก แล้วตักใส่ถ้วยน้ำพริกผสมให้เข้ากัน


7. เสิร์ฟพร้อมผักสด ชะอมชุบไข่ หรือมะเขือยาวชุบไข่ทอด


น้ำพริกกุ้งแห้ง

น้ำพริกกุ้งแห้งป่น




เครื่องปรุง
กุ้งแหังป่น 2 ชัอนโต๊ะ
กุ้งแห้งเป็นตัว 2 ชัอนโต๊ะ
พริกแห้งเม็ดโหญ่ๆ 9 เม็ต
หอมแดง 4 หัว
กระเทียมไทย 4 หัว
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาดี 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 2 1/2 ชัอนโต๊ะ

วิธีทำ
1.นำพริกแห้ง หอมแตง กระเทียมมาเผาไฟแล้วก็นำมาโส่ครกโขลกให้ ละเอียด โส่กุ้งแห้งป่นตามลงไปโขลกให้ละเอียดเขัากัน

2.นำกระทะตั้งไฟ ใช้ไฟอ่อนๆ ใส่น้ำมันลงใป พอน้ำมะนร้อน ให้ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงผัดให้หอม


3.ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี น้ำตาลปี๊บ ชิมรสตามชอบใจ

4.ตักใส่ถ้วย ใส่กุ้งแห้งเป็นตัว แล้วคลุกเคลัากัน รับประทานกับผักสด หรือผักลวก กินกับข้าวสวยรัอน

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขายราคาส่ง แคบหมูไร้มัน แคบหมูกระจก แหล่งขายส่ง ( ผลิตพร้อมจำหน่าย )

ขายราคาส่ง แคบหมูไร้มัน แคบหมูกระจก แหล่งขายส่ง ( ผลิตพร้อมจำหน่าย )



    โรงงานแคบหมูท่าฉลอม เราผลิตพร้อมจำหน่าย แคบหมูไร้มัน และ
แคบหมูกระจก สำหรับ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านอาหารต่างๆ  โดยเราผลิตเอง
ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ เตรียมหนังหมูสด ทำความสะอาด ต้มหนังให้สุก 
เคี่ยวน้ำมัน  ทอดกรอบ และ เป่าลมร้อน  จนได้แคบหมูไร้มัน หมูกระจก
ทีมีคุณภาพ กรอบทนนาน  รสเข้มข้น จนลูกค้าไว้วางใจจนถึงปัจจุบัน



มาตราฐานการผลิต

1.ใช้วัตถุดิบ หนังหมูสด สะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง
2.ทำความสะอาด หนังหมู พร้อม แล่มันหมูและขนหมูออกจนหมด
3.นำหนังหมูไปต้มในน้ำเดือดบริสุทธิ์ เพื่อทำให้สุกและปรุงรส
4.นำไปตากแดด และ อบไล่ความชื้น
5.เคี่ยวหนังหมูแห้ง ด้วย น้ำมันอุ่น เพื่อหนังจะได้กรอบและพองฟูเวลาทอดต่อไป
6.ด้วยการทอดอีก 2 ขั้นตอน เพื่อให้กรอบได้นานกว่า 30 วัน
7.ภายหลังการทอด ต้องใช้การเป่าลมร้อนอีกครั้ง เพื่อไล่น้ำมันออก จึงไม่มีกลิ่นหืน
8.แคปหมูไร้มัน สูตรดั้งเดิม รสต้นตำรับกว่า 30 ปี และแคปหมูกระจก สูตรใหม่รสเข้มข้น
9.ไม่ใส่วัตถุกันเสีย , ไม่มีผงชูรส  และ  ไม่อมน้ำมัน 
10.มีบริการจัดส่ง ทั่วประเทศ รับรองคุณภาพ



*สนใจรายละเอียด ติดต่อสอบถามได้ที่ :- 

email: thai.driedshrimp@gmail.com

http://thaidriedshrimp.blogspot.com




CONTACT US :-

1.ฝ่ายขาย  : คุณ ธงชัย Tel.088-521-1500 (08.00 - 16.00)
2 .สโตร์  กรุงเทพ : Tel.02-213-2838 ,089-366-5150
3.โรงงาน สมุทรสาคร ( ท่าฉลอม ) :   Tel.034-499-859

        ทางโรงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ให้บริการแก่ท่าน   ขอบคุณครับ

                             นาย  ธงชัย เลิศสินทรัพย์ทวี 





google tag key: แคบหมูไร้มัน ,แคบหมูกระจก,แคบหมูขายส่ง,แคบหมูติดมัน,ขายแคบหมู,ขายส่ง แคบหมู ไร้ มัน,แคบหมู เชียงราย,วิธีทําแคบหมูไร้มันปรุงรส,ธุรกิจแคบหมู,แคบหมูแก้ว,แคบหมู ขาย,ราคาแคบหมู,ขาย แคบหมู ไร้ มัน,ขายแคบหมูติดมัน,แคบหมูกระจกขายส่ง,แคบหมูไร้มัน ราคาส่ง,ราคา แคบหมู ไร้ มัน,แคบหมู ไร้ มัน ปรุง รส,ขายส่ง แคบหมู เชียงใหม่,ายส่ง แคบหมู ไร้ มัน ติด มัน
แคบหมู ราคา,ขายส่งแคบหมูกระจก,ขายแคบหมูราคาส่ง,แคบหมูกึ่งสำเร็จรูป,แคบหมูกระจก เชียงใหม่,จำหน่าย แคบหมู ติด มัน,ขายส่งแคบหมูติดมัน,แคบหมูขายส่ง,แคบหมูเชียงใหม่,วิธีการทำแคบหมู,ขายแคบหมูไร้มัน,สูตรแคบหมู,แคบหมู ภาษาอังกฤษ ,แคบหมู เชียงใหม่....
...

โครงการกระบวนการผลิตอาหารทะเลตากแห้งคุณภาพสูงของชุมชนภาคใต้ตอนล่างด้วย

1* ภรพนา บัวเพชร์2 สุรสิทธิ์ ประสานปราน3 ชูลีรัตน์ คงเรือง4
จอมภพ แววศักดิ์
5 และสุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล5
Yutthana Tirawanichakul
Jompob Waewsak
  270-350% d.b. และอบแห้งในเครื่องอบแห้งแบบตู้จนกระทั่งได้ความชื้นสุดท้ายประมาณ 20-25% d.b. ที่อุณหภูมิอบแห้งในช่วงอุณหภูมิ 38-112°C ความเร็วลมเฉลี่ย 1.1±0.1 m/s กระแสป้อนกลับของอากาศ 67 และ 95% ผลการทดลองพบว่า อัตราการอบแห้งกุ้งด้วยพลังงานความร้อนร่วมระหว่างรังสีอินฟราเรดและลมร้อน เร็วกว่า10-6 cm2/sอุณหภูมิอบแห้ง ไม่ส่งผลการเปลี่ยนแปลงร้อยละการคืนตัวอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ขณะที่กุ้งที่อุณหภูมิสูงมีแนวโน้มการหดตัวมากกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ สำหรับคุณภาพด้านเนื้อสัมผัส พบว่า อุณหภูมิอบแห้งมีผลต่อค่าแรงเฉือนของกุ้งแห้งโดยการอบแห้งอุณหภูมิสูงให้ค่าแรงเฉือนน้อยกว่าการอบแห้งด้วยอุณหภูมิตํ่า คุณภาพทางเคมีของกุ้งแห้ง พบว่า มีค่าวอร์เตอร์แอคทิวิตี้ของกุ้งแห้ง 0.41-0.56 เนื้อกุ้งมีองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกัน(โปรตีน 32.6-35.4%, ค่ากรดไทโอบาร์บิทูริก 2.82-3.14 mg malonaldehyde/kg sample) กุ้งแห้งที่ได้ภายหลังการอบแห้งแล้วมีคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ (ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและยีสต์และรา) ต่ำกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.309/2547) และการบำบัดน้ำล้างด้วยก๊าซโอโซนสามารถช่วยลดปริมาณจุลินทรีย์ในกุ้งแห้งได้ กรณีการทดสอบการยอมรับในการบริโภคของกุ้งแห้ง พบว่า รูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการอบแห้งและอุณหภูมิอบแห้งไม่มีผล
บทคัดย่อ


                        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการอบแห้งของกุ้งคุณภาพสูงโดยอาศัยการพาความร้อนด้วยลมร้อน การแผ่ความร้อนจากรังสีอินฟราเรดและการพาความร้อนจากลมร้อนร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ และศึกษาคุณภาพการบรรจุภัณฑ์ และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ ทำการอบแห้งของกุ้งที่ความชื้นเริ่มต้นของกุ้งต้มในช่วง
               กรณีการอบแห้งด้วยลมร้อนและการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด และการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว ตามลำดับ และในส่วนการพิจารณาคุณภาพกุ้งแห้ง พบว่า การอบแห้งด้วยแหล่งพลังงานจากรังสีอินฟราเรดส่งผลต่อค่าสีของผลิตภัณฑ์มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการอบแห้งด้วย กุ้งมีสีแดงตามธรรมชาติดีกว่าวิธีการอื่น ๆโดยค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลของกุ้งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอบแห้ง และมีค่าอยู่ในช่วง

(p<0.05) ต่อคะแนนการยอมรับโดยรวม ลักษณะเนื้อสัมผัส กลิ่นคาว และรสเค็มและเมื่อพิจารณาค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้อบแห้ง ผลการทดลองพบว่า การทดลองอบแห้งแบบใช้รังสีอินฟราเรดจะมีค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะ ต่ำกว่ากรณีการอบแห้งโดยใช้พลังงานความร้อนร่วมและการอบแห้ง ด้วยการพาความร้อนด้วยลมร้อนอย่างเดียวตามลำดับ โดยมีค่าความสิ้นเปลืองพลังงานอยู่ในช่วง 8.6-10.6MJ/kg of water evaporated
หลังการอบแห้งกุ้ง

              เมื่อนำไปบรรจุภัณฑ์ในถุงลามิเนต ถุง
Nylon/LLDPE และถุง Polypropylene ที่สภาวะปกติและเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษากุ้งแห้ง พบว่า เมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งสูงขึ้นทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการอบแห้งสั้นลง และค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะมีค่าลดลง โดยอัตราการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรดมีค่าเร็วกว่าการอบแห้งด้วยวิธีการอื่น และกุ้งแห้งที่บรรจุในถุงNylon/LLDPE จะมีอายุการเก็บรักษานาน 9 สัปดาห์ ก่อนเสื่อมสภาพ

                อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
1*, Pornpana bounpetchara2, Surasit Prasarnparn3, Chuleerat kongrueng4,5 and Supawan Tirawanichakul6
โครงการกระบวนการผลิตอาหารทะเลตากแห้งคุณภาพสูงของชุมชนภาคใต้ตอนล่างด้วยพลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฟฟ้า


Production Process of High Quality Dried Seafood for Southern Community using Integrated
Thermal Energy from Solar Energy and Electricity


ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล

ผลของกรดซิตริกที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษากุ้งแห้ง

ผลของกรดซิตริกที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษากุ้งแห้ง

เยาวลักษณ์ รัตนพรวารีสกุล
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ผลิตภัณฑ์ประมง) สาขาผลิตภัณฑ์ประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 158 หน้า
2539
บทคัดย่อ
    ทดลองผลิตกุ้งแห้ง โดยแช่กุ้งสดในกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 0, 0.1,0.3และ 0.5 แล้วต้มน้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 5 เพื่อคัดเลือกความเข้มข้นของกรดซิตริกที่เหมาะสม ต่อการผลิตกุ้งแห้ง

        ศึกษาอายุการเก็บรักษาของกุ้งแห้งที่ผลิตได้ในสุญญากาศ และบรรยากาศปกติที่อุณหภูมิ 30+/-2องศาเซลเซียส และ 10+/- 2 องศาเซลเซียส โดยวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี (ปริมาณแอสตาแซนทีน ,แอมโมเนีย ,ความชื้น,เกลือ ,และpH)
        ทางจุลชีววิทยา(จุลินทรีย์ทั้งหมด,จุลลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน ,ยีสต์และรา,E. coli , S. aureus , Salmonella , Vibrioและ Clostridium) ทางกายภาพ(Aw และ วัดสีในระบบ L,a,b) และทางประสาทสัมผัสปรากฏว่ากุ้งแห้งที่ใช้กรดซิตริกเข้มข้นร้อยละ 0.1,0.3 และ 0.5 มีปริมาณแอสตาแซนทีน และคะแนนการยอมรับรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(P>0.05)แต่มีคุณภาพที่ดีกว่ากุ้งที่ไม่ใช้กรดซิตริกจึงเลือกความเข้มข้นของกรดซิตริกต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 0.1 มาผลิตกุ้งแห้ง
            เพื่อทดสอบคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาในสภาพสุญญากาศและในบรรยากาศปกติโดยเปรียบเทียบกับกุ้งแห้งที่ไม่ใช้กรอซิตริก ผลปรากฏว่ากุ้งแห้งที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 +/- 2 องศาเซลเซียส จะมีอายุการเก็บรักษานานกว่า 14 สัปดาห์ และมีคุณภาพดีกว่ากุ้งแห้งที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ30+/- 2 องศาเซลเซียส จะมีอายุการเก็บรักษาเพียง 6 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นกุ้งแห้งที่ใช้กรดซิตริกจะมีคุณภาพด้านสี ปริมาณแอสตาแซนทีน
               คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสสูงกว่าและมีปริมาณแอมโมเนียต่ำกว่ากุ้งแห้งที่ไม่ใช้กรดซิตริก(P<0.01)ทั้งที่เก็บรักษาในสภาพสุญญากาศและบรรยากาศปกติ ที่อุณหภูมิ 30+/-2องศาเซลเซียส และ 10+/-2 องศาเซลเซียส

การเก็บรักษากุ้งแห้งภายใต้สภาพปรับบรรยากาศ

การเก็บรักษากุ้งแห้งภายใต้สภาพปรับบรรยากาศ

วราภา วรพงษ์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาศาสตร์การอาหาร)) ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม. 2531. 129 หน้า.
2531
บทคัดย่อ
 การเก็บรักษากุ้งแห้งภายใต้สภาพปรับบรรยากาศด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซไนโตรเจนร้อยละ 100 (C 100, N 100X และในบรรยากาศซึ่งปรับด้วยก๊าซสองชนิดร่วมกันในอัตราส่วน80:20, 60:40, 40:60 และ 20:80 โดยปริมาตร (CN 82, CN64, CN46, CN28) โดยบรรจุในถุงลามิเนตชนิด EVA/SARAN/EVA (Ethylene vinyl acetate/ polyvinylidene chloride/ ethylene vinyl acetate) ที่อุณหภูมิห้อง (30 องศาเซลเซียส) ส่วนตัวอย่างควบคุมเก็บรักษาภายใต้บรรยากาศปกติในสภาพเดียวกัน เพื่อค้นคว้าสภาพปรับบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการยืดอายุการเก็บของกุ้งแห้งโดยตรวจสอบกุ้งแห้งด้วยดัชนีตรวจสอบคุณภาพทางเคมีและด้านจุลินทรีย์ร่วมกับประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส เปรียบเทียบระหว่างกุ้งแห้งที่เก็บในสภาพปรับบรรยากาศและบรรยากาศปกติ และทำการวิเคราะห์คุณภาพทางด้านเคมีและทางด้านจุลินทรีย์ของกุ้งแห้งที่สำรวจเพื่อเสนอเป็นร่างมาตรฐานของกุ้งแห้ง
การเก็บรักษากุ้งแห้งภายใต้สภาพปรับบรรยากาศด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 ร่วมกับก๊าซไนโตรเจนสามารถชะลอการเกิดแอมโมเนียและลดการออกซิเดชันของแอสตาแซนทีนในกุ้งแห้ง ตัวย่างที่เก็บในบรรยากาศปกติมีสีซีดและมีกลิ่นแอมโมเนียฉุนภายในเวลา 4 สัปดาห์ ในขณะที่สีของกุ้งแห้งที่เก็บในสภาพปรับบรรยากาศ C 100, CN 82 และ CN 64 ยังคงเป็นที่น่าพอใจแม้ว่าจะเก็บเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ และรักษาระดับแอมโมเนียในกุ้งแห้งให้อยู่ในช่วง 800-1,000 ppm. ในระหว่างการเก็บรักษาเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพปรับบรรยากาศมีปริมาณลดลงเนื่องจากถูกดูดซึมในกุ้งแห้ง จึงช่วยรักษาคุณภาพของกุ้งแห้งที่เก็บภายใต้สภาพปรับบรรยากาศได้ดีกว่าการเก็บในบรรยากาศปกติ ผลการประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัส ปรากฏว่า มีความสัมพันธ์อย่างดีระหว่างปริมาณแอมโมเนียกับการยอมรับกลิ่น และปริมาณแอสตาแซนทีนกับการยอมรับสีของผู้ชิม ซึ่งนำมาใช้เป็นดัชนีคุณภาพของกุ้งแห้งได้ว่า กุ้งแห้งที่มีคุณภาพดีควรมี pH ต่ำกว่า 8 มีปริมาณแอมโมเนียไม่เกิน 800 ppm. และมีรงควัตถุแอสตาแซนทีนมากกว่า 0.2 หน่วยต่อกรัม
การเก็บรักษากุ้งแห้งภายใต้สภาพปรับบรรยากาศ C 100, CN 82และ CN 64 สามารถชะลอและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในกุ้งแห้ง จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดในกุ้งแห้งที่เก็บในสภาพปรับบรรยากาศต่ำกว่าตัวอย่างที่เก็บในบรรยากาศปกติระหว่างการเก็บรักษาอย่างน้อยร้อยละ 90 จำนวน Staphylococcus aureus และเชื้อราลดลงระหว่างการเก็บรักษาและไม่พบแบคทีเรียชนิดไม่ต้องการอากาศในกุ้งแห้งทุกตัวอย่าง เนื่องจาก aw ในกุ้งแห้งมีค่าต่ำ
จากการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและคุณภาพทางจุลินทรีย์ของกุ้งแห้งที่เก็บตัวอย่างจากตลาดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้แหล่งผลิตของประเทศไทยสามารถสรุปและเสนอเป็นแนวทางในการร่างมาตรฐานคุณภาพของกุ้งแห้งได้ คือ จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด 500,000 CFU ต่อกรัม S. aureus 100 CFU ต่อกรัม เชื้อรา 50 CFU ต่อกรัม โคลิฟอร์มแบคทีเรีย 0 CFU ต่อกรัม และ Salmonella 0 CFU ต่อ 25 กรัม
จากผลการทดลองพอสรุปได้ว่า การเก็บรักษาภายใต้สภาพปรับบรรยากาศมีบทบาทต่อการยืดอายุการเก็บ และการเสนอมาตรฐานคุณภาพกุ้งช่วยปรับปรุงคุณภาพของกุ้งแห้งได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอีกด้วย

การยืดอายุการเก็บรักษากุ้งแห้งโดยการฉายรังสี

การยืดอายุการเก็บรักษากุ้งแห้งโดยการฉายรังสี

วรนุช จักรไพวงศ์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาศาสตร์การอาหาร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2526. 78 หน้า.
2526


บทคัดย่อ

                    เมื่อนำกุ้งแห้งบรรจุในภาชนะต่างกัน 3 ชนิดคือ ถึงโพลีเอทธิลีน (PE) ทัปเปอร์แวร์ และถุงโพลีโพรพิลีนประกบกับโพลีเอทธิลีน (PP/PE) ซึ่งบรรจุแบบสุญญากาศมาฉายรังสีปริมาณ 3 กิโลเกรย์

                    แล้วเก็บตัวอย่างกุ้งแห้งที่บรรจุในภาชนะชนิดต่าง ๆ ทั้งที่ไม่ฉายรังสีและฉายรังสีไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และ 28-30 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาผลของรังสี และภาชนะบรรจุ และอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อปริมาณจุลินทรีย์ อายุการเก็บรักษาของกุ้งแห้ง และการเปลี่ยนแปลงปริมาณความชื้นเกลือ และแอมโมเนีย ตลอดจนสี กลิ่น รส ลักษณะเนื้อของกุ้งแห้ง
                          ผลปรากฏว่ารังสีปริมาณ 3 กิโลเกรย์จะมีผลทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ลดลงประมาณ 2 log cycle หรือร้อยละ 99 เมื่อเทียบกับกุ้งแห้งไม่ฉายรังสี จึงสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษากุ้งแห้งออกไปได้นานขึ้นกว่าปกติ กุ้งแห้งบรรจุในถุงโพลีโพรพิลีนประกบกับโพลีเอทธิลีน คือที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียสสามารถเก็บได้นานถึง 18 สัปดาห์ โดยเพิ่งเริ่มมีกลิ่นแอมโมเนียฉุน กุ้งแห้งเริ่มมีสีน้ำตาลและค่อนข้างซีด
                          การฉายรังสีร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำจะช่วยยืออายุการเก็บรักษากุ้งแห้งได้นานกว่าเก็บที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์ที่พบในกุ้งแห้งฉายรังสีส่วนใหญ่เป็นพวกแบคทีเรียที่ทนเกลือที่พบมากคือ Bacillus รองลงมาคือ Micrococcus นอกจากนี้พบว่ากุ้งแห้งทุกตัวอย่างไม่มีเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียและซัลโมเนลล่าปนเปื้อนอยู่เลย ส่วนเชื้อราที่เป็นสาเหตุให้กุ้งแห้งฉายรังสีเสื่อมคุณภาพและเน่าเสียส่วนใหญ่คือ Aspergillus รองลงมาคือ Penicillium และมี Fusarium บ้าง สำหรับการเปลี่ยนแปลงปริมาณความชื้นและเกลือนั้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในระหว่างการเก็บรักษา หรือกล่าวได้ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
                        แต่ปริมาณแอมโมเนียจะเพิ่มขึ้นในระหว่างการเก็บรักษา โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกุ้งแห้งไม่ฉายรังสี เก็บที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส รองลงมาคือกุ้งแห้งฉายรังสี เก็บที่อุณหภูมิเดียวกันและไม่ฉายรังสีที่เก็บที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสตามลำดับ ซึ่งสัมพันธ์สอดคล้องกับคะแนนของผู้ยืมที่ให้คะแนนสูงในตัวอย่างของการยอมรับของผู้บริโภคระหว่างกุ้งแห้งฉายรังสีและกุ้งแห้งไม่ฉายรังสี พบว่าผู้บริโภคยอมรับอาหารฉายรังสี การปรับปรุงภาชนะโดยการใช้ถุงโพลีโพรพิลีนประกบกับโพลีเอธิลีนบรรจุแบบสุญญากาศนับว่าให้ผลดียิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขายปลีก และ ขายส่ง กุ้งแห้ง ไม่ใส่สี ของฝากจากสุราษฎร์ธานี ( ผลิตพร้อมจำหน่าย )

ขายปลีก และ ขายส่ง  กุ้งแห้ง ไม่ใส่สี ของฝากจากสุราษฎร์ธานี ( ผลิตพร้อมจำหน่าย )


- กุ้งแห้งคัดพิเศษ ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น แมลง เส้นผม เศษโลหะ ก้อนกรวด ฯลฯ
- ไม่ใส่สี ,ไม่ใส่วัตถุกันเสีย  ,ไม่มีผงชูรส  และ ไม่เค็มจัด
-  มีกลิ่นหอมของกุ้ง เนื่องจาก ตากแดดจริง แล้วจึง เข้าห้องอบแห้งอีกครั้ง
- จำหน่าย แพ็คละ 500 กรัม ( ราคาขายส่ง โทรมาคุยกันครับ )
   1. ราคา กุ้งแห้ง ชนิด กุ้งเนื้อคัดพิเศษ แพ็คละ 250 บาท ( กิโลกรัมละ 500 บาท )
   2.ราคา  กุ้งแห้ง ชนิด กุ้งแก้ว         แพ็คละ 350 บาท  ( กิโลกรัมละ 700 บาท )

- กุ้งแห้งผลิต จาก โรงงานอุตสาหกรรมกุ้งแห้งจังหวัดสุราษฯ ( ผลิตพร้อมจำหน่าย )
- ผลิตจาก กุ้งทะเลทางภาคใต้ โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎ์ธานี
- สามารถเก็บรักษาคุณภาพได้ถึง 6เดือน (ภายใต้อุณภูมิต่ำ 0 ถึง -15c ํ)
- มีการตรวจมาตราฐาน QA ในทุก Lot การผลิต
- สามารถจัดหา สินค้าพร้อมจัดส่งได้ตลอดทั้งปี
- รับสินค้าได้ที่ กรุงเทพฯ หรือหากสั่งซื้อจำนวนมาก จัดส่งฟรี

*สนใจรายละเอียด ติดต่อสอบถามได้ที่ :-
คุณ ธงชัย โทร.088-521-1500
หรือ ที่ห้องเย็น  โทร.02-213-2838
email: bigtayama@gmail.com
*สินค้าคุณภาพ ราคาโรงงาน ด้วยวิธีการผลิตที่ทันสมัย
สนใจรายละเอียด ที่ 
http://thaidriedshrimp.myreadyweb.com/